ข่าวประชาสัมพันธ์
การป้องกันปัญหายาเสพติด
20 กรกฎาคม 2558

4946


                                                          การป้องกันปัญหายาเสพติด

การป้องกันเป็นมาตรการที่ใช้สำหรับผู้ที่อาจ จะเกิดเป็นปัญหาในอนาคต แต่ยังไม่ได้เป็นปัญหาในปัจจุบัน แตกต่างจากการรักษา ซึ่งเป็นมาตรการสำหรับ ผู้ที่ติดยาแล้ว โดยที่การบำบัดรักษาทำได้ลำบากและได้ ผลไม่ดีนัก การป้องกันจึงเป็นมาตรการ ที่สำคัญที่สุด

สาเหตุของปัญหายาเสพติดแตกต่างกันในสังคม หรือชุมชนต่างๆ การป้องกันที่เหมาะสมจึงย่อมต้อง แตกต่างกันไปด้วย นอกจากนี้กลุ่มบุคคลเป้าหมายของ มาตรการป้องกัน ย่อมมีสภาพด้านบุคลิกภาพและสภาพ แวดล้อมแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องเลือกมาตรการป้องกัน ที่เหมาะสม มาตรการบางอย่างที่เหมาะสมกับคนกลุ่มหนึ่ง อาจกลายเป็นโทษสำหรับคนกลุ่มอื่นได้ ยังไม่มีมาตรการใดอย่างเดียวที่ใช้ได้ผลกับคนทุกกลุ่ม

มาตรการป้องกันอาจแบ่งได้เป็น การป้องกัน ปฐมภูมิ หรือมาตรการสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเป็นปัญหา หรือยังไม่ได้ติดยา โดยมีเป้าหมายที่จะป้องกันไม่ให้เกิด ปัญหาขึ้น กับการป้องกันทุติยภูมิ หรือการป้องกันผู้ที่เคยติดยา และได้รับการบำบัดรักษา จนหยุดยาได้แล้ว ไม่ให้กลับไปใช้ยาอีก
การเผาฝิ่น
การเผาฝิ่น
มาตรการป้องกันปัญหายาเสพติด ได้แก่

๑. การสร้างกฎหมายที่เหมาะสม 

ยาที่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรง หรือมีศักยภาพ ที่จะก่อปัญหา เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน และกัญชา ควรมีกฎหมายห้ามการผลิต การนำเข้าในอาณาจักร และการขาย โดยมีบทลงโทษที่รุนแรงพอที่จะให้ผู้ที่ ประสงค์จะลักลอบกลัว และไม่กล้าเสี่ยง แม้ว่าจะมีทางได้กำไรมากก็ตาม ในประเทศไทยมีพระราชบัญญัติยา เสพติด พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งกำหนดโทษผู้ละเมิดไว้แรงมาก พอจะสรุปได้ดังนี้

ผู้ที่ติดยาเสพติดจะไม่ต้องรับโทษ ถ้าได้เข้ารับ การบำบัดรักษาตามสถานบำบัดรักษา หรือโรงพยาบาลที่ได้รับรอง และปฏิบัติ ตามระเบียบของการบำบัดรักษา

ในประเทศสิงคโปร์ ใช้มาตรการที่รุนแรงกว่าใน ประเทศไทย ผู้ที่ใช้เฮโรอีนซึ่งพิสูจน์ได้ด้วยการตรวจ ปัสสาวะ จะถูกส่งเข้าสถานกักกันเป็นเวลาอย่างน้อย ๖ เดือน
พยาบาลให้คำปรึกษาแนะนำผู้ป่วยติดยาเสพติด
พยาบาลให้คำปรึกษาแนะนำผู้ป่วยติดยาเสพติด
สำหรับยาที่ยังใช้เป็นประโยชน์ในทางการแพทย์ แต่ก็ทำให้เกิดปัญหาการติดยาด้วย เช่น ยานอนหลับ และยากล่อมประสาท ก็จำเป็นต้องมีกฎหมายที่ควบคุม การผลิต การนำเข้าไปราชอาณาจักร และการขายให้อยู่ ในขอบเขตที่ได้ประโยชน์ เป็นยารักษาโรค แต่ไม่เกิดโทษ ในแง่ยาเสพติด ทั้งนี้จะต้องปรับกฎหมายตามลักษณะ ปัญหาหรือชนิดของตัวยาที่เป็นปัญหาตามสภาพความเป็น จริงที่เปลี่ยนไปด้วย

๒. มาตรการรักษากฎหมาย

การป้องกัน และปราบปรามการลักลอบผลิต นำเข้า ขนย้าย หรือจำหน่ายจ่ายแจกยาเสพติด ย่อมมีความสำคัญ ในการทำให้ยาหายากขึ้น โอกาสที่คนจะไปติดยาจะได้น้อยลง

โดยที่ความพยายามที่จะให้มีคนติดยา เพื่อให้มีความต้องการและตลาดสำหรับยาเสพติดชนิดหนึ่งๆ นั้น มีส่วนในการทำการระบาดของยาเสพติดเป็นปัญหา ร้ายแรงกว้างขวางขึ้นได้ และกระบวนการค้ายาเสพติดเป็นอาชญากรรม ที่มีระบบอิทธิพลและเงินทุนมาก ทั้งใน ระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ มาตรการใน การปราบปรามจึงทำได้ยาก และประสบปัญหามาก เจ้าหน้าที่ในการปราบปรามอาจถูกปองร้าย และได้รับอันตราย ได้ หรืออาจถูกอิทธิพลทางการเงินหรืออื่นๆ ทำให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบขึ้นได้ ระบบงานและเทคนิควิธีการในการรักษากฎหมายก็มีความสำคัญ
ผู้ป่วยติดยาฝึกอาชีพทางหัตถกรรม
ผู้ป่วยติดยาฝึกอาชีพทางหัตถกรรม
สำหรับยาเสพติดให้โทษที่กฎหมายห้ามการผลิต นำเข้า และจำหน่ายโดยเด็ดขาดนั้น ตำรวจ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด เป็นเจ้าหน้าที่ ที่มีอำนาจตามกฎหมาย ส่วนวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและยาเสพติด ที่ยังใช้เป็นยารักษาโรคนั้น การควบคุม เป็นหน้าที่ ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
๓. มาตรการด้านเจตคติ และค่านิยมของสังคม
 
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาของชุมชน และสังคม เจตคติ และค่านิยมในสังคมนั้นๆ มีส่วนเป็นอย่างมาก ในการห้ามหรือยอมให้เกิดปัญหาขึ้น ในชุมชนบางแห่งที่ต่อต้านยาเสพติด โอกาสที่จะเกิดปัญหาย่อมมีน้อยกว่าชุมชน ที่มีทัศนคติยอมรับการติดยา โดยไม่ถือว่าร้ายแรงนัก

การที่มาตรการในการป้องกันปัญหายาเสพติดจะ ได้ผลนั้น จำเป็นต้องอาศัยกำลังใจ ความร่วมมือ และแรงสนับสนุน จากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนทั่วไป การกระตุ้นให้สังคมมองเห็นปัญหา หาทางแก้ไข และยอมทุ่มเททรัพยากรในการแก้ปัญหา ย่อมจำเป็นอย่างยิ่ง 

การให้ข่าวสารและความรู้แก่ประชาชนเพื่อป้องกัน ยาเสพติดนั้นได้มีวิธีการอยู่ ๒ แบบ คือ วิธีการทำให้กลัว กับวิธีการให้ข้อมูล ที่เป็นความจริง สำหรับวิธีแรกนั้น มีผลในการกระตุ้นให้ตกใจ และเห็นปัญหาตลอดจนหาทางแก้ไข แต่อาจเกิดความตกใจ จนเกินกว่าเหตุ และ มีปฏิกิริยาที่ไม่ได้ผลเต็มที่ในระยะยาวได้ วิธีการนี้ยังพบ ว่า ไม่ได้ผลสำหรับผู้ที่เคยมีประสบการณ์ และได้ลองยามาแล้ว และรู้ว่าข่าวสารหรือความรู้นั้นไม่เป็นความจริง นอกจากนี้ยังมีผลให้ผู้ที่มีประสบการณ์และไม่เกิดผลร้าย อย่างที่อ้าง กลายเป็นผู้ที่เก่งกาจน่านิยมมากขึ้นอีกสำหรับเยาวชนที่เป็นปัญหา
ผู้ป่วยติดยาฝึกอาชีพเกษตรกรรม
ผู้ป่วยติดยาฝึกอาชีพเกษตรกรรม
สำหรับกลุ่มชนที่มีการศึกษา หรือมีวิจารณญาณของตนเอง การให้ข่าวสารและความรู้ ที่เป็นความจริง ย่อมได้ผลดีกว่า สื่อสารมวลชนต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ตลอดจนเอกสารเผยแพร่ต่างๆ เป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเข้าถึงประชาชนจำนวนมาก จึงย่อมมีอิทธิพลในการช่วยกำหนดค่านิยมในสังคมเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย

๔. มาตรการทางการศึกษา

โดยที่การติดยาเสพติดขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันที่มี ในบุคคลที่อาจเป็นปัญหา การให้การศึกษาย่อมเป็นการสร้างความรู้ บุคลิกภาพ เจตคติ และค่านิยมที่ดี อันประกอบเป็นภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน และเยาวชน ซึ่งเป็นผู้ที่ล่อแหลมต่อปัญหายาเสพติด 

การศึกษาอาจมุ่งในด้านต่างๆ ซึ่งจะมีผลในการ ป้องกันการเสพติดได้ ตัวอย่างเช่น 

๔.๑ มุ่งที่ความรู้ความเข้าใจ และเจตคติเกี่ยวกับยา และการใช้ยาโดยทั่วไป รวมถึงคุณและโทษของยา การใช้ยาที่ถูกต้อง และการใช้ยาในทางที่ผิด 

๔.๒ มุ่งที่ความรู้ความเข้าใจ และเจตคติต่อยา เสพติด ทั้งในแง่ชีววิทยา เภสัชวิทยา สังคมวิทยา หน้าที่ พลเมือง กฎหมายควบคุมยาเสพติดสำหรับยาเสพติด โดยรวมๆ และสำหรับยาเสพติดแต่ละชนิด 

๔.๓ มุ่งที่ความรู้ความเข้าใจ และเจตคติเกี่ยว กับการรักษาสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขภาพจิต 

๔.๔ มุ่งที่การพัฒนาบุคลิกภาพ ให้เป็นผู้ที่ รู้จักใช้เหตุผล มีความเชื่อมั่นในตนเอง รู้จักเลือกคบเพื่อน สามารถปรับตนเองในสังคมได้ สร้างสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคลได้ และสามารถรู้จักหาวิธีแก้ปัญหา และสามารถขอ และรับคำปรึกษา และความช่วยเหลือที่เหมาะสม 

๔.๕ มุ่งที่การปลูกฝังค่านิยมที่ดี สำหรับ นักเรียนหรือเยาวชนกลุ่มต่างๆ ในต่างกันในระดับอายุ ภูมิหลัง และประสบการณ์ เกี่ยวกับยาเสพติด ย่อมต้องใช้มาตรการต่างกันในการให้การศึกษา การเลือกให้เหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
ผู้ป่วยติดยาร่วมนันทนาการ (วิ่งวิบาก)
ผู้ป่วยติดยาร่วมนันทนาการ (วิ่งวิบาก)
๕. มาตรการทางชุมชน

โดยที่ปัญหายาเสพติดมีสาเหตุสำคัญมาจากสภาพแวดล้อมในชุมชน มาตรการที่มุ่งแก้ปัญหาที่เป็นสาเหตุในชุมชน จึงเป็นการแก้ ที่ตรงเป้า อาจจำเป็นต้องพิจารณาศึกษาในแต่ละชุมชน หรือสภาพของชุมชนถึงปัจจัยที่เป็นปัญหาในชุมชนนั้นๆ 

มาตรการทางชุมชน ได้แก่ 

๕.๑ การขจัดแหล่งอบายมุข แหล่งมั่วสุมและ แหล่งจำหน่ายยาเสพติดในชุมชน 

๕.๒ การสร้างกิจกรรมเสริมสร้างสำหรับเยาว- ชนในชุมชน เพื่อให้สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น การกีฬา นันทนาการ เป็นต้น 

๕.๓ การจัดที่ปรึกษาและแนะแนว เพื่อช่วย ให้คำแนะนำและช่วยเหลือ เมื่อเยาวชนมีปัญหา 

๕.๔ การพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน เพื่อเพิ่ม รายได้ของแต่ละบุคคล ลดความยากจนและความกดดัน ทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น การฝึกอาชีพ การหางาน การหารายได้พิเศษ การประหยัดค่าใช้จ่าย สหกรณ์ผู้ซื้อ เป็นต้น 

๕.๕ การพัฒนาสังคมในชุมชน เพื่อให้มีระบบ สังคมที่ดี มีเป้าหมาย ความหวังและอนาคต 

๖. มาตรการในการป้องกันการระบาดของการติดยา

ผู้ที่ติดยาเสพติด มีส่วนสำคัญในการชักนำให้ผู้อื่นไปติดด้วย การขจัดไม่ให้มีผู้ติดยา หรือให้ลดจำนวนลง จะช่วยลดการแพร่ระบาดได้ การป้องกัน จึงควรมุ่งที่การหากผู้ที่ติดยาให้ได้โดยเร็วที่สุด และทำการรักษาให้ได้ผลเสียโดยเร็ว ส่วนผู้ที่ติดยางอมแงม จนกลายเป็นปัญหาสังคม และเป็นตัวการให้เกิดการแพร่ระบาดไปสู่ผู้อื่น ก็น่าจะได้แยกออกไปจากสังคม