สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญ  |
|
ประวัติความเป็นมา
ชุมชนตำบลปันแตจากคำบอกเล่าสืบทอดกันมาว่า ได้จัดตั้งบ้านปันแตขึ้นจากสมัยพม่ายกทัพมาตีเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองบริเวณใกล้เคียง คนปันแตได้ต่อสู้รบกับพม่าที่บุกรุก ต่อมาพระยาช่วย ทุกขราษ ได้ตั้งฐานทัพที่บ้านปันแต และได้สู้รบกับพม่าเป็นเวลาหลายเดือน เมื่อพม่าล่าถอยชาวบ้านก็ได้ตกลงแบ่งเขตหมู่บ้านและทางราชการ ได้เข้ามากำหนดเขตหมู่บ้านและตำบลให้ประชาชน
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2539 ได้ยกฐานะขึ้นเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ครอบคลุมพื้นที่ 13 หมู่บ้าน
สภาพทั่วไปของตำบล :
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือห่างจากที่ว่าการอำเภอควนขนุน ประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดพัทลุง ประมาณ 30 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 29,555 ไร่ หรือประมาณ 47.29 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลมะกอกเหนือ และตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลพนางตุง และตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และติดต่อกับตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ตำบลปันแต มีสภาพภูมิประเทศหลายลักษณะ คือ มีทั้งที่ดอน ที่ราบ และที่ราบลุ่ม พื้นที่ดอนจะอยู่ทางทิศตะวันตก และทางตอนกลางของตำบลแล้วลาดเอียงลงมาเป็นพื้นที่ราบ และที่ราบลุ่มบริเวณทางทิศตะวันออกของตำบล
พื้นที่ส่วนใหญ่จะมีน้ำท่วมในฤดูฝน ใช้เป็นพื้นที่ปลูกข้าว พืชผัก พืชไร่ ส่วนที่ดอนจะใช้ปลูกยางพารา
ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลปันแตมีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดูกาล คือ
1) ฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนมกราคม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
2) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
เขตการปกครอง
กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งตำบลปันแต เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2539 มีหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปันแต จำนวน 13 หมู่บ้าน ดังนี้
1. หมู่ที่ 1 บ้านปลายคลอง
2. หมู่ที่ 2 บ้านปันแต
3. หมู่ที่ 3 บ้านสำนักกอ
4. หมู่ที่ 4 บ้านปากสระ
5. หมู่ที่ 5 บ้านควนปันแต
6. หมู่ที่ 6 บ้านในไร่
7. หมู่ที่ 7 บ้านโพธิ์
8. หมู่ที่ 8 บ้านสุนทราออก
9. หมู่ที่ 9 บ้านสุนทราตก
10.หมู่ที่ 10 บ้านใสหลวง
11.หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งลาน
12.หมู่ที่ 12 บ้านหารเจ
13.หมู่ที่ 13 บ้านเขากลาง
จำนวนประชากรของตำบล :
หมู่ที่
|
ชื่อบ้าน
|
ครัวเรือน
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
1
|
บ้านปลายคลอง |
90
|
174
|
177
|
351
|
2
|
บ้านปันแต |
60
|
108
|
95
|
203
|
3
|
บ้านสำนักกอ |
200
|
354
|
341
|
695
|
4
|
บ้านปากสระ |
114
|
251
|
210
|
425
|
5
|
บ้านควนปันแต |
209
|
353
|
401
|
754
|
6
|
บ้านในไร่ |
210
|
362
|
379
|
741
|
7
|
บ้านโพธิ์ |
75
|
144
|
158
|
302
|
8
|
บ้านสุนทราออก |
67
|
124
|
129
|
253
|
9
|
บ้านสุนทราตก |
142
|
294
|
300
|
594
|
10
|
บ้านใสหลวง |
157
|
264
|
301
|
565
|
11
|
บ้านทุ่งลาน |
156
|
264
|
268
|
532
|
12
|
บ้านหารเจ |
140
|
225
|
231
|
456
|
13
|
บ้านเขากลาง |
84
|
140
|
138
|
278
|
|
รวม |
1,705
|
3,021
|
3,128
|
6,149
|
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
- ทำการเกษตร ทำไร่ ทำนา
- ทำสวน ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้
- เลี้ยงสัตว์
- ประกอบอาชีพค้าขาย และรับจ้างทั่วไป
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1. วัตถุโบราณและโบราณสถาน วัดสุนทราวาส หมู่ที่ 8
2. แหล่งน้ำห้วยแม่กะ หมู่ที่ 13 บ้านหารเจ
3. โบราณสถานถ้ำเขากลาง หมู่ที่ 13 บ้านเขากลาง |
|
|
|
|
|
|
|
|